ความหมายขององค์กร
"องค์การ คือ
กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพ่อดำเนินการในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ ในการรวมตัวจะต้องมีการจัดระเบียบการติดต่อ
การแบ่งงานกันทำและต้องมีการประสานประโยชน์ ของแต่ละบุคคลด้วย"
องค์การมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1.
วัตถุประสงค์ (objective)
หรือจุดมุ่งหมายในการก่อตั้งองค์การ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรม หรือผลผลิตขององค์การ
2.
โครงสร้าง (structure)
องค์การจะต้องมีโครงสร้าง
โดยมีการจัดแบ่งหน่วยงานภายในตามหลักความชำนาญเฉพาะ มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างภายในองค์การ
3.
กระบวนการปฏิบัติงาน (process) หมายถึง
แบบอย่างวิธีปฏิบัติที่เป็นแบบแผนคงที่แน่นอน เพื่อให้ ทุกคนในองค์การต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงาน
4.
บุคคล (person)
องค์การจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งในลักษณะกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกภายในองค์การ
ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และยังต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกองค์การ ซึ่งได้แก่
ผู้รับบริการและผู้ให้การสนับสนุน
ความหมายขององค์การ
องค์การ หมายถึง
การที่บุคคลตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปมารวมตัวกันทำงานภายใต้โครงสร้างและการประสานงานที่กำหนด
เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน แต่ละองค์การจึงต้องมีจุดมุ่งหมาย มีโครงสร้าง
มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปและอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมขององค์การ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การต้องใช้แบบจำลองที่อธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมระดับบุคคล
กลุ่ม และองค์การ จะช่วยให้ผู้บริหารมีความเข้าใจ สามารถทำนายพฤติองค์การ
ทำให้การบริหารองค์การเกิดประสิทธิผลตามต้องการ
องค์การ (Organization) เป็นคำนิยามของการรวมตัวกันอย่างเป็นระบบ หรือบางที่ให้คำจำกัดความว่า
เป็น การจัดการที่มีการร่วมมือและประสานงานกัน ตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างที่ตั้งไว้
โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่
มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ
การจะทำความเข้าใจคำว่าองค์การนั้น
ถ้าดูที่การแบ่งประเภทขององค์การจะทำให้เข้าใจดีขึ้น เช่น
1. องค์การทางสังคม
ครอบครัว สถาบันการศึกษาทุกระดับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันศาสนา วัด ศูนย์ปฏิบัติธรรม สถาบัน กลุ่ม ชมรม
มูลนิธิ ฯลฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเฉพาะอย่างแต่มุ่งประโยชน์ในระดับสังคม
3. องค์การเอกชน
เช่น บริษัทห้างร้านที่ตั้งขึ้นมาด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งหากำไรเป็นสำคัญ ลักษณะ ขององค์การทางธุรกิจนั้น แบ่งได้เป็น
3.1
องค์การที่มีเจ้าของคนเดียวจัดระบบการทำงานโดยมีลูกน้องมาร่วมมือกันทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จและ ในปัจจุบันธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวแพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการตลาดแบบออนไลน์
3.2
ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในองค์การประเภทนี้จะต้องร่วมรับผิดชอบในองค์การร่วมกันในทุกเรื่องทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน
3.3
ห้างหุ้นส่วนจำกัด องค์การธุรกิจประเภทนี้มีความต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่ เฉพาะหุ้นส่วนเฉพาะ บางคนเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบไม่จำกัด
ผู้ถือหุ้นนอกนั้นรับผิดชอบ “จำกัด” ตามจำนวนหุ้นที่ตัวเองถือครอง
3.4 บริษัทจำกัด
เป็นองค์การทางธุรกิจ ที่จัดตั้งขึ้น แล้วแบ่งทุนเป็นหุ้น
ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดเพียง ไม่เกินจำนวนเงินหุ้นที่ตนถือเท่านั้น
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับองค์การ
องค์การ
1.1
ความหมายของการจัดองค์การ
การจัดองค์การเป็นงานที่ดำเนินมาต่อเนื่องจากการวางแผน
เป็นความพยายามที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของโครงสร้างองค์การที่จะช่วยให้แผนที่ได้จัดไว้ประสบความสำเร็จ
ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง การจัดองค์การ จึงหมายถึงความพยามยามที่ผู้บริหารกำหนดโครงสร้างขององค์การที่สามารถเอื้ออำนวยให้แผนที่จัดทำขึ้นไปสู่สัมฤทธิ์ผลที่ปรารถนาดังนั้นการจัดองค์การอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะขององค์การ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1.
ทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.
ทำให้งานทุกอย่างในองค์การดำเนินไปด้วยความสำเร็จด้วยดี
3.
ทำให้ประหยัดและคุ้มค่าเพราะไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนและความล่าช้า
4.
ทำให้องค์การสามารถพัฒนาและเจริญเติบโตต่อไป
5. ทำให้สมาชิกเกิดการร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน
6.
ทำให้สมาชิกในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
องค์การคืออะไร (What is Orgnization)
1. องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว
โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนา (วัด) สมาคม สโมสร ชมรม และกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
2.
องค์การทางราชการได้แก่หน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมถึงกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ที่เรียกกันว่า ระบบราชการ (Bureaucracy) ซึ่งเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่โตมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมาก
3. องค์การเอกชนได้แก่ บริษัท
ร้านค้าต่างๆที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์ทางการค้าจากลักษณะขององค์การ ที่ได้กล่าวมาแล้วท่านผู้อ่านคงพอจะมองออกได้ว่าท่านอยู่ท่ามกลางองค์การทั้งสิ้นและบางองค์การก็ยังมีความสัมพันธ์กับองค์การอื่นๆ
อีก
ลักษณะขององค์การ
วิรัช สงวนวงศ์
( 2537: 20) ได้สรุปว่า องค์การโดยทั่วไปมีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1) ต้องประกอบด้วยคน
2)
คนในองค์การต้องมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
3) ความเกี่ยวข้องดังกล่าวอยู่ในรูปโครงสร้าง
4) ทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายส่วนบุคคล
5) การร่วมงานต้องตอบสนองให้ทุกคนพอใจ
สมคิด บางโม
(2538: 15) ได้วิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
1) องค์การเป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์
2) องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล
3) องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
4) องค์การเป็นกระบวนการของกลุ่มงาน
5)
องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่งผู้เขียนมีแนวความคิดเห็นว่า ลักษณะขององค์การควรพิจารณาเป็น
2 นัย คือ ลักษณะขององค์การในเชิงส่วนประกอบและลักษณะขององค์การในเชิงระบบ
ลักษณะขององค์การเชิงส่วนประกอบ
ลักษณะเป็นองค์การเชิงส่วนประกอบ
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ
1. บุคคลเป็นองค์ประกอบหลัก
เป็นแกนกลางขององค์การ เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกิจกรรม อย่างมีชีวิตชีวา
บุคคลนอกจากปฏิบัติงานของตนเองแล้ว ยังมีอิทธิพลในการโน้นน้าวผู้อื่น
ร่วมกันกำกับลักษณะขององค์การ และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขององค์การ
2. โครงสร้างเป็นตัวกำหนดรูปร่างของแผนกงาน
กลุ่มงาน สายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่และระเบียบข้อบังคับ
โคร้งสร้างจะช่วยให้มองเห็นลักษณะและภาพรวมขององค์การเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของแผนกงาน
กลุ่มงานช่วยกำกับความเกี่ยวเนื่องของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบาย
ลักษณะขององค์การเชิงระบบ
องค์การเป็นระบบหนึ่งของสังคมเป็นที่รวมของกิจกรรมต่างๆ
ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ เช่น ฝ่ายการจัดซื้อ ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด
แต่ละระบบย่อยต่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อกิจ
กรรมในฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบต่อระบบย่อยส่วนอื่นด้วย
ในการเริ่มต้นให้ระบบเริ่มดำเนินการ องค์การต้องอาศัย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ
วิธีการ ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อก่อให้เกิดผลงานตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
องค์การอยู่ท่ามกลางระบบอื่นๆ ของสังคม อยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ
ในลักษณะของระบบดังนี้
1. สิ่งที่นำเข้าสู่ระบบ
(Input) คือปัจจัยที่จำเป็นและเกื้อหนุนให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างประสิทธิภาพ
ได้แก่ คน เงินทุน วัสดุ เทคโนโลยี สารสนเทศ
2. กระบวนการ (Process)
คือ วิธีการที่นำปัจจัยนำเข้าสู่ระบบโดยดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อให้ได้มา ซึ่งสิ่งที่ออกจากระบบ
ตัวอย่างของกระบวนการ เช่น กระบวนการผลิตกระบวนการจัดการ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน
เช่น การวางแผน การบริหารงานบุคคล
3. สิ่งที่ออกจากระบบ
(Output) คือ เป้าหมายความต้องการขององค์การอาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ การบริการ กำไร
ความพึงพอใจหรือผลตอบแทนต่างๆ
4. ข้อมูลย้อนกลับ
(Feedback) เป็นตัวช่วยปรับแต่ให้สิ่งที่ออกจากระบบได้มาตรฐานเป็นที่น่าพึงพอใจ
ข้อมูลต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกัน จะถูกส่งเข้าย้อนกลับเข้าสู่ระบบเพื่อการปรับสิ่งนำเข้าสู่ระบบและกระบวนการต่างๆ
ให้สอดคล้องต่อกันอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
5. สิ่งแวดล้อม (Environment)
อาจแบ่งเป็น สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ ได้แก่ บรรยากาศภายในบริษัท
ปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่
ชุมชนใกล้เคียงองค์การอื่นเศรษฐกิจของประเทศ การเมืองและปัญหาแรงงาน
ลักษณะขององค์การเชิงระบบ
ขอขอบคุณ : http://tacit16.exteen.com/
:
https://www.im2market.com/2016/05/16/3261
: http://mte.kmutt.ac.th/elearning/Mte411_Organization/project-www/bont1.html
: https://www.gotoknow.org/posts/207238
สืบค้นเมื่อวันที่ : 1
พฤศจิกายน พ.ศ.2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น