หลักการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
งานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
ทุกคนทำงานก็เพื่อปรารถนาเพื่อจะให้งาน ของตนเองก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อองค์การ
ต่อสังคม และครอบครัวโดยส่วนรวม
งานในที่นี้ย่อมหมายถึงงานในรูปของสินค้าหรือบริการ
ซึ่งอาจจะมีหลากหลายชนิดด้วยกัน เช่น งานอุตสาหกรรม ในครอบครัว ที่ผลิตออกมาในรูปของสินค้า OTOP งานในองค์การหรือบริษัท ทั้งนี้งานแต่ละประเภทที่จำเป็น ต้องมีปัจจัยต่างๆ เช่น
กลยุทธ์และเทคนิคในการทำงาน การสร้างแรงจูงใจในการทำงานและการมีทีมงานและการทำงานเป็นทีมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการพัฒนางาน
ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดและผลผลิตหรือบริการนั้นต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ
กลยุทธ์และเทคนิคในการทำงาน
การพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพนั้น
กลยุทธ์และเทคนิครวมทั้งวิธีการทางเทคโนโลยี ถือได้ว่า เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยผลักดันองค์การ
บุคลากร และงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร ระยะเวลา แรงงาน และวัสดุต่างๆ
ที่นำมาใช้ในการทำงานจนเกิดสัมฤทธิผล
ความหมายของกลยุทธ์และเทคนิคกลยุทธ์และเทคนิคนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายความหมายไว้
ซึ่งพอจะยกเป็นต้วอย่างได้ดังนี้
กลยุทธ์
คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด
มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน
ระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูงสำหรับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีระบบการทำงานที่คล่องตัว
มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงนำไปสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เพื่อความอยู่รอด และความก้าวหน้า
ขององค์การของหน่วยงานหรือของธุรกิจเอกชนในอนาคต
เทคนิค
คือ ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้นๆ
การทำงานหากขาดพลังหรือแรงจูงใจในการทำงานแล้ว
อาจมีผลทำให้การทำงานขาดชีวิตชีวา และน่าเบื่อ
ดังนั้น
เราจะทำอย่างไรที่จะให้ชีวิตการทำงานในแต่ละวันของเรามีความสดชื่นและตื่นตัวอยู่เสมอ
ก่อนอื่นเราควรทราบถึงสาเหตุหรือที่มาของแรงจูงใจเป็นลำดับแรก เพื่อที่จะได้หาวิธีการในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นต่อไป
เช่น อาจจะเนื่องมาจากความต้องการหรือแรงขับ
หรือสิ่งเร้าใจหรือภาวะการตื่นตัวในบุคคล หรืออาจจะเนื่องมาจากการคาดหวัง
หรือบางครั้งบางคราวก็อาจเป็นแรงจูงใจไร้สำนึก คือ เกิดจากการเก็บกด
ซึ่งบางทีเจ้าตัวก็ไม่รู้ตัว จะเห็นได้ว่าการจูงใจให้เกิดพฤติกรรมในคนเรานั้นไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เพราะพฤติกรรมของมนุษย์มีความซับซ้อน
แรงจูงใจอย่างเดียวกันอาจทำให้เกิดพฤติกรรมต่างกัน
แรงจูงใจต่างกันอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเหมือนกัน
พฤติกรรมอย่างหนึ่งอาจเกิดจากแรงจูงใจหลายอย่าง และในบุคคลต่างสังคมก็มักมีแรงจูงใจ
การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการบริหารงาน
ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ที่ทำให้บุคลากรหรือพนักงาน มีกำลัง
เต็มใจและตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพนั้นคือ การจูงใจ ทั้งนี้ถ้าบุคคล บุคลากร หรือพนักงาน
ได้รับการจูงใจแล้วจะส่งผลให้เต็มใจที่จะมุ่งมั่น สละเวลา
กำลังที่จะผลักดันหรือผลผลิตออกมาดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความต้องการ
(need)
เป็นสภาพที่บุคคลขาดสมดุล
เกิดแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างสมดุลให้ตัวเอง เช่น
คนที่รู้สึกเหนื่อยล้าจะแสดงพฤติกรรมด้วยการนอน หรือนั่งพัก
หรือเปลี่ยนบรรยากาศเปลี่ยนอิริยาบถ ดูหนังฟังเพลง ฯลฯ คนที่ถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว
จะมีความต้องการความรัก ความสนใจจากผู้อื่น
เป็นแรงผลักดันให้คน ๆ นั้น กระทำการบางอย่างเพื่อให้ได้รับความรักความสนใจ เช่น ส่งเสียงดังร้องไห้ ฯลฯ
ความต้องการมีอิทธิพลมากต่อพฤติกรรม
กล่าวได้ว่าสิ่งที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อบรรลุจุดหมายปลายทางที่ต้องการนั้น
ส่วนใหญ่เกิดเนื่องมาจากความต้องการของบุคคล ความต้องการในคนเรามีหลายประเภท
นักจิตวิทยาได้อธิบายเรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และได้จำแนกเป็น 2 ประเภท
ดังนี้
1. ความต้องการทางกาย (physical needs)
เป็นความต้องการที่เกิดจากธรรมชาติ ของร่างกาย เช่น ต้องการกินอาหาร หายใจ
ขับถ่ายของเสีย การเคลื่อนไหว พักผ่อน และต้องการทางเพศ
ความต้องการทางกายทำให้เกิดแรงจูงใจให้บุคคลกระทำการเพื่อสนองความต้องการดังกล่าว
เรียกว่าแรงจูงใจที่เกิดจากนี้ว่าแรงจูงใจทางชีวภาพ หรือทางสรีระ (biological
motives)
2. ความต้องการทางสังคมหรือความต้องการทางจิตใจ
(social
or psychological needs) เป็นความต้องการที่เกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม
เช่น ต้องการความรัก ความมั่นคง ความปลอดภัย การเป็นที่ยอมรับ ในสังคม
ต้องการอิสรภาพ ความสำเร็จในชีวิต และตำแหน่งทางสังคม ความต้องการทางสังคมหรือทางจิตใจ
ดังกล่าวนี้ เป็นเหตุให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางได้
เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการดังกล่าวคือ ทำให้เกิดแรงจูงใจที่เรียกว่า
แรงจูงใจทางสังคม (social motives)
สิ่งล่อใจ (incentives)
สิ่งล่อใจ (incentives) เป็นสิ่งชักนำบุคคลให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้จัดเป็นแรงจูงใจภายนอก เช่น การชักจูงให้คนงานมาทำงานอย่างสม่ำเสมอ โดยยกย่องพนักงานที่ไม่ขาดงานให้เป็นที่ปรากฏ การประกาศเกียรติคุณ หรือการจัดสรรรางวัล ในการคัดเลือกพนักงานหรือบุคคลดีเด่นประจำปี การจัดทำเนียบ "Top Ten" หรือสิบสาขาดีเด่นขององค์การ การมอบโล่รางวัลแก่ฝ่ายงานที่มีผลงานยอดเยี่ยมในรอบปี ฯลฯ ตัวอย่างที่ยกมา จัดเป็นการใช้สิ่งล่อใจมาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดแก่พนักงานขององค์การทั้งสิ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งล่อใจนั้น อาจเป็นวัตถุ เป็นสัญลักษณ์ หรือเป็นคำพูดที่ทำให้บุคคลพึงพอใจ
การตื่นตัว (arousal)
การตื่นตัว
(arousal)
เป็นภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรม สมองพร้อมที่จะคิด
กล้ามเนื้อพร้อมที่จะเคลื่อนไหว
นักกีฬาที่อุ่นเครื่องเสร็จพร้อมที่จะแข่งขันหรือเล่นกีฬา
พนักงานต้อนรับที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า ฯลฯ
ลักษณะดังกล่าวนี้เปรียบเหมือนเครื่องยนต์ที่ติดเครื่องพร้อมจะทำงาน
บุคลากรในองค์การถ้ามีการตื่นตัวในการทำงาน ย่อมส่งผลให้ทำงานได้ดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาธรรมชาติ พฤติกรรมของมนุษย์พบว่า การตื่นตัวมี 3 ระดับ
คือ การตื่นตัวระดับสูง การตื่นตัวระดับกลาง และการตื่นตัวระดับต่ำ
ระดับที่นักจิตวิทยาค้นพบว่าดีที่สุด ได้แก่ การตื่นตัวระดับกลาง
ถ้าเป็นการตื่นตัวระดับสูง จะตื่นตัวมากไปจนกลายเป็นตื่นตกใจ
หรือตื่นเต้น ขาดสมาธิในการทำงาน ถ้าตื่นตัวระดับต่ำ ก็มักทำงานเฉื่อยชา
ผลงานเสร็จช้า และจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้บุคคลตื่นตัว
มีทั้งสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายในตัว ได้แก่
ลักษณะส่วนตัวของบุคคลแต่ละคนที่มีต่าง ๆ กัน ทั้งในส่วนที่เป็นบุคลิกภาพ
ลักษณะนิสัยและระบบสรีระภายในของผู้นั้น
การคาดหวัง (expectancy)
การคาดหวัง
(expectancy)
เป็นการตั้งความปรารถนาหรือการพยากรณ์ล่วงหน้าของบุคคลในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปตัวอย่างเช่น
การที่คนงานคาดหวังว่าพวกเขาจะได้รับโบนัสประจำปีสัก 4-5
เท่าของเงินเดือนการคาดหวังดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พนักงานดังกล่าวกระปรี้กระเปร่า
มีชีวิตชีวา ซึ่งบางคนอาจจะสมหวังและมีอีกหลายคนที่ผิดหวัง
ในชีวิตจริงของคนเราโดยทั่วไป สิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นมักไม่ตรงกันเสมอไป
ช่วงห่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ถ้าห่างกันมากก็อาจทำให้คนงานคับข้องใจ และเกิดปัญหาขัดแย้งอื่น ๆ ตามมา
เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารงานจึงควรระมัดระวังในเรื่องดังกล่าว
ที่จะต้องมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในกันและกัน
การสร้างความหวังหรือการปล่อยให้พนักงานคาดหวังลม ๆ แล้ง ๆ
โดยที่สภาพความเป็นจริงทำไม่ได้
อาจจะก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากที่คาดไม่ถึงในเวลาต่อไป
ดังตัวอย่างที่เห็นได้จากการที่กลุ่มคนงานของบริษัทใหญ่บางแห่งรวมตัวกันต่อต้านผู้บริหารและเผาโรงงาน
เนื่องมาจากไม่พอใจที่ไม่ได้โบนัสประจำปีตามที่คาดหวังไว้ว่าควรจะได้ทีมงานและการทำงานเป็นทีมคนต้องการมีสังคม
และอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มคนจึงต้องสังกัดอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในด้านการทำงานถ้าสามาถทำงานเป็นกลุ่มได้ ทำให้องค์การมีประสิทธิภาพอันนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตในการทำงาน
ความสำเร็จขอององค์การ ย่อมต้องประกอบด้วยทีมงานต่างๆหลายประเภท
และหลายลักษณะซึ่งเป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
อันนำไปสู่ความสำเร็จและการบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การ
ความหมายของทีมงาน
ทีมงาน
(Team
Work) หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างจะใกล้ชิดและคงความสัมพันธ์อยู่ค่อนข้างจะถาวรซึ่งประกอบด้วยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานโดยร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมงาน
ความหมายของการทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีม
เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยต้องมีองค์ประกอบสำคัญ
3 ประการ (3P)
ได้แก่
1.
มีวัตถุประสงค์ (Purpose)
ต้องชัดเจน
2.
มีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการทำงาน
3.
มีผลการทำงาน (Performance)
ความสำคัญของการสร้างทีมงาน
ในแง่ของการทำงานเป็นทีม
คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
แล้วก็การปฏิบัติงานต่างก็ได้รับความพอใจในผลงานนั้น ๆ ประโยชน์มีมากมาย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่นการแข่งขันกีฬาไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล วอลเลย์บอล
หรือตะกร้อที่จะต้องทำงานประสานกันเป็นทีม ถ้าไม่มี การวางแผนหรือมีการที่จะทำให้การประสานการเป็นทีม
ชัยชนะก็จะไม่เกิดยกตัวอย่างอย่างเล่นฟุตบอลง่าย ๆ ฉะนั้นประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมสมาชิกในทีมจะต้องได้มีการพัฒนาเต็มความสามารถของตน
ได้รับเปลี่ยนความรู้ ทักษะ
ประสบการณ์กับเพื่อนร่วมทีมทำให้เกิดการเรียนรู้การรับฟังความคิดเห็นและการสื่อสารกัน
ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม
ช่วยให้การทำงานเป็นระบบที่ดี
มีการแบ่งงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบทำให้งานบรรลุเป้าหมายตาม ที่กลุ่มและทีมงานรับผิดชอบ
ช่วยให้มีการนำหลักมนุษย์สัมพันธ์มาใช้ในกลุ่มและทีมงาน เช่น การรู้เรา รู้เขา
เอาใจเขา มาใส่ใจเรา งานของกลุ่มและทีมงานจะดำเนินไปด้วยดี ช่วยให้เกิดรู้รักสามัคคีระหว่างสมาชิกของกลุ่มและทีมงาน ในการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานกลุ่ม และทีมงาน
ตามมาตรฐาน การทำงาน โดยอาศัยกลุ่มหรือสภาพแรงงานเป็นตัวแทนให้แก่พนักงาน
ช่วยให้เกิดความมั่นคงในอาชีพเนื่องจากการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมงาน
จะก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของมวลสมาชิกในกลุ่มหรือทีมงาน
อันจะก่อให้เกิดความเกรงใจของคณะผู้บริหารที่มีต่อกลุ่มหรือทีมงาน ช่วยให้เกิดความรู้สึกการยอมรับนับถือของสมาชิกในทีมงานที่เรียกว่า
คารวธรรม มีการเคารพนับถือเป็นพี่เป็นน้องก่อให้เกิดการถ้อยทีถ้อยอาศัย
ขอขอบคุณ :
https://kanyanee.wikispaces.com/หลักการพัฒนางานให้มี
ประสิทธิภาพ
สืบค้นเมื่อวันที่ : 20
ธันวาคม พ.ศ.2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น